ครึ่งปี 66 เติมน้ำมันเครื่องบินพุ่งเกินเป้า BAFS มั่นใจปลายปีเที่ยวบินทะลักอีก
เมื่อ 13 มิ.ย. 2566 หม่อมหลวงณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BAFS เปิดเผยว่า เป้าหมายการให้บริการน้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ หรือ Jet A1 อยู่ที่ 4,200 ล้านลิตร ผ่านมาแล้วครึ่งปีมีการใช้น้ำมันเกินเป้าหมาย 5% ราว 1,800-1,900 ล้านลิตรแม้ช่วงนี้จะยังมีปัญหาเที่ยวบินไม่เพียงพอ ก็เชื่อว่าช่วงปลายปีที่การบินกลับเข้าสู่ไฮซีซั่น
รวมถึงการกลับมาของเที่ยวบินจีนอาจเพิ่มขึ้น 4-5 เท่า จะช่วยกระตุ้นให้การใช้น้ำมันเป็นไปตามเป้าหมาย และแนวโน้มในปีหน้าคาดว่าการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอากาศยานจะกลับมาเท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 ที่ประมาณ 6,200 ล้านลิตรต่อปี
ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัว ตลาดผันผวน แนวโน้มขึ้นจากอปุสงค์เพิ่ม-โอเปกผลิตลด
ตลาดหุ้นไทย เทรดต่ำสุดในรอบปี นักลงทุนรอรัฐบาลใหม่-จับตาดอกเบี้ยสหรัฐฯ
โดยโอกาสที่ตามมาของประเทศไทยในธุรกิจเชื้อเพลิงอากาศยาน คือ การผลิต "น้ำมันอากาศยานที่ยั่งยืน" หรือ SAF ซึ่งเป็นน้ำมันที่ปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล และบางชนิดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ สามารถผลิตจากน้ำมันพืชใช้แล้ว ไขมันจากสัตว์ และของเสียจากการเกษตรและขยะต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันต้นทุนยังแพงกว่า 3-5 เท่า เนื่องจากปริมาณการใช้น้อยมาก
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BAFS กล่าวต่อว่า หากรัฐบาลกำหนดนโยบายส่งเสริมที่ชัดเจนกับน้ำมันอากาศยานชีวภาพ จะทำให้ต้นทุนการผลิตปรับลดลง แล้วสร้างโอกาสให้แก่ผู้ประกอบการของไทยมากขึ้นอย่างแน่นอน สิ่งที่เอกชนอยากเห็น คือ นโยบายกำหนดส่วนผสมขั้นต่ำ รวมถึงมาตรการภาษีสรรพสามิต โดยน้ำมันอากาศปกติจะเก็บภาษีอยู่ที่ราว 5 บาท คิดเป็นสัดส่วน 20% ของราคาขาย หากยกเว้นได้ก็จะสร้างแต้มต่อให้กับธุรกิจ
นอกจากนี้ มล.ณัฐสิทธิ์ ระบุอีกว่า การบริหารจัดการส่งน้ำมันผ่านท่อ ปัจจุบันใช้งานเพียง 20% ของท่อที่มี โดยโจทย์คือทำอย่างไรให้ประเทศไทยมีความมั่นคงในการขนส่งทางท่อมากยิ่งขึ้น เช่น อาจปรับเป็นผู้ให้บริการรายเดียวของประเทศ ในราคาที่เป็นธรรม เหมาะสม ลดต้นทุนการขนส่งของผู้ค้าน้ำมัน เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อราคาพลังงานในประเทศให้ลดลงได้ พร้อมชี้ว่า การมีผู้ประกอบการเจ้าเดียวไม่ใช่การผูกขาด เพราะยังต้องแข่งขันกับการขนส่งประเภทอื่น ๆ อยู่แล้วคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ด้านนางพัทธ์ธีรา สายประทุมทิพย์ รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า ปัจจุบันกำลังศึกษาและจัดทำมาตรการ เนื่องจากมีภารส่วนที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก หลายกรม หลายกระทรวง ซึ่งหากดูมาตรการผลักดันของทวีปยุโรปที่จะบังคับใช้ในปี 2570 ให้มีส่วนผสมเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ 2% ก็ถือเป็นทิศทางที่ดี ดังนั้นในระยะแรกของไทยก็มีนักลงทุนสนใจผลิต เชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแล้ว 2-3 ราย
ขณะที่แพ็กเกจสนับสนุนนักลงทุน อาจจะขึ้นอยู่กับนโยบายของประเทศ ทิศทางการลงทุนจะเป็นอย่างไรใน 4-5 ปีแรก เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตเกิดขึ้นได้ก่อน เช่น น้ำมันพืชใช้แล้ว เอเทอร์นอล ประกอบกับมาตรการสนับสนุนนักลงทุน มาตรการดูแลราคาวัตถุดิบ อาจใช้เวลาอีกราว 2 เดือน เพื่อความชัดเจนในการจัดทำมาตรการที่มากขึ้น